เชื่อว่าผู้คนส่วนมากรู้จักหรือเคยได้ยินว่า ป่าหิมพานต์ คืออะไร พ่อแม่ปู่ย่าตายายของเราก็เคยบอกพูดถึงบ้างกับป่าหิมพานต์แห่งนี้ ตามตำนานครั้งโบราณในวรรณคดีก็ได้มีการกล่าวถึงป่ามหัศจรรย์แห่งนี้กันอยู่บ้าง ป่าวิเศษที่ไม่สามารถไปได้ มองไม่เห็นด้วยตาป่าว ตามความเชื่อในแบบชาวพุทธนั้นป่าหิมพานต์ได้มีชื่อนี้อยู่ในไตรภูมิพระร่วง วรรณกรรมของพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย
ป่าหิมพานต์ซึ่งที่ตั้งอยู่ในดินแดนชมพูทวีป บริเวณเชิงเขาไกลลาสเป็นที่อยู่ของสิ่งลี้ลับ สัตว์วิเศษ และมีเรื่องราวมหัศจรรย์วันนี้เราจะพาไปรู้จัก 8 สัตว์ในป่าหิมพานต์ มักพบรูปปั้นอยู่ในวัดไทย ตำนาน วรรณคดี ตามความเชื่อ ตามคติศาสนาพุทธของปวงชนชาวไทยทั้งประเทศ
1. พญานาค
นาค เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ที่ใต้บาดาลลึกลงไปเป็นนาคพิภพภายในเป็นวิมาน มีปราสาททั้งเงินและทองดูสวยตระการตา ) พญานาคเป็นเทพกึ่งสัตว์เดรัจฉานผู้ที่คอยปกป้องพระพุทธศาสนาของชาวไทย พญานาคผู้ซึ่งมีฤทธิ์มากสามารถแปลงกายเป็นมนุษย์ได้ตามความต้องการ พญานาคจำแนก 4 ตระกูลเป็นหลักได้แก่ ตระกูลวิรูปักษ์(พญานาคสีทอง), ตระกูลเอราปถ(พญานาคสีเขียว), ตระกูลฉัพพยาปุตตะ(พญานาคสีรุ้ง), ตระกูลกัณหาโคตมะ (พญานาคสีดำ
2. พญาครุฑ
ครุฑ เป็นสัตว์กึ่งเทพที่มีร่างกายเป็นอมตะเพราะได้รับพร อาวุธร้ายแรงแค่ไหนก็ไม่สามารถทำลายครุฑได้ แม้กระทั่งสายฟ้าของพระอินทร์ก็ตาม ครุฑผู้มีอำนาจเทียบเท่าเทพเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ครุฑอาศัยอยู่ที่วิมานฉิมพลี มีรูปลักษณ์ครึ่งคนครึ่งนก เป็นพญาแห่งนกทั้งปวง ครุฑเป็นบุตรของนางวินตากับพระกัศยปมุนีฤษีผู้มีฤทธิ์ เป็นลูกพี่ลูกน้องกับนาคทั้งสองทะเลาะจนไม่ถูกกันกลายมาเป็นศัตรูกันในที่สุด ซึ่งแม่ของพญาครุฑก็เป็นพี่น้องกับแม่ของพญานาค ทั้งสองมีพ่อเป็นคนเดียวกัน
3. นรสิงห์
นรสิงห์ หนึ่งในสัตว์แห่งป่าหิมพานต์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความกล้าหาญและอำนาจ มีรูปร่างหัวเป็นสิงห์ร่างกายบางส่วนเป็นมนุษย์ และหัวอาจเป็นมนุษย์ท่อนร่างเป็นสิงห์ก็ได้เช่นกัน “นรสิงห์” หรือเรียกอีกชื่อว่า “เทพนรสิงห์” มีหน้าที่คอยปกป้องพิทักษ์พระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่จะอยู่ที่สระอโนดาตมีหน้าที่อีกอย่างคือคอยขับไล่ยักษ์นั้นเอง ปัจจุบันจะเห็นนรสิงห์อยู่ตามภาพวาด มักมีคนคอยบูชาเหมือนกับครุฑและนาค
4. เหรา
เหรา (อ่านว่า เห-รา) เป็นสัตว์มหัศจรรย์อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ มักจะปรากฏให้เห็นที่วัดทางภาคเหนือที่ในผนังของวัดและบันไดทางเข้าของโบสถ์ รัชกาลที่ 6 ได้อธิบายเอาไว้ว่า เหราเป็นสัตว์ลูกผสมระหว่างจระเข้กับนาค ลำตัวยาว ส่วนหัวคล้ายกับพญานาค ปากและเท้าคล้ายจระเข้ เหราในพระพุทธศาสนาหมายถึงความยึดติดลุ่มหลง คอยกลืนกินพญานาค (ชีวิต ร่างกาย จิตใจ) อยู่ตามบันไดโบสถ์ในวัด
เป็นกุศโลบายคอยสอนคนรุ่นหลังว่า การไม่ยอมแพ้ให้กิเลสความยึดมั่นถือมั่นก็สามารถกลืนกินเราได้ทั้งหมด ทางพระพุทธศาสนาจึงสอนให้ปล่อยวางความยึดติดความลุ่มหลง คนที่จะเข้าวัดต้องทิ้งความลุ่มหลงให้อยู่นอกโบสถ์นอกวัด คนที่จะเข้าโบสถ์เข้าจึงต้องละความชั่ว ความลุ่มหลงก่อนให้ได้นั้นเอง
5. ตัวมอม
ตัวมอม เป็นหนึ่งในสัตว์ที่อาศัยในป่าหิมพานต์ มีรูปร่างลักษณะสัตว์ลูกผสมสิงห์กับมกร เป็นสัตว์ที่มีอำนาจและฤทธิ์เดช ปรากฏให้เห็นได้จากงานศาสนสถานพบเจอได้ที่ทางเข้าโบสถ์ที่อยู่ภายในวัดของทางภาคเหนือ ตัวมอมเป็นสัตว์พาหนะของเทพปัชชุนนะ เทพเจ้าประทานฟ้าฝน ตัวมอมมีอิทธิฤทธิ์และได้หลงเกิดสร้างกิเลส มอมกลับสวรรค์ไม่ได้จึงต้องเฝ้าคอยเฝ้าหน้าประตูศาสนาฟังคำเทศนาให้หลุดจากกิเลสทั้งปวง
6. ช้างเอราวัณ
ช้างเอราวัณ เป็นพาหนะคู่พระทัยของพระอินทร์ เป็นช้างที่ใหญ่และมีฤทธิ์ที่สุด เป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ คอยทำหน้าที่ดูแลโลกทางทิศตะวันออกคู่กับพระอินทร์ ช้างเอราวัณมีเศียรมากถึง 33 เศียรมีงาถึง 7 งา ตามคติฮินดูช้างเอราวัณเป็นของวิเศษจากการกวนเกษียรสมุทรลำดับที่ 4 ช้างเอราวัณมีหน้าที่คอยดูดน้ำจากโลกขึ้นสวรรค์เพื่อให้พระอินทร์คอยบันดาลน้ำตกลงมาที่โลก
7. กินนร-กินรี
กินนร-กินรี เป็นมนุษย์กึงนกที่อาศัยอยู่บนเชิงเขาไกรลาส ณ ป่าหิมพานต์ กินนรจะเป็นเพศชาย กินรีจะเป็นเพศหญิงมีรูปร่างลักษณะครึ่งมนุษย์ครึ่งนก ในส่วนด้านบนจะเป็นมนุษย์ ส่วนท่อนล่างเป็นนก กินนร-กินรีจะมีอายุยืนยาวเป็นพันปี ปรากฏในวรรณกรรมของทางล้านนากล่าวไว้ว่า กินนรและกินรีอมุษย์ที่มีความชำนาญในการร่ายรำ และปรากฏในละครเรื่อง นางมโนห์รา-พระสุธนนั้นเอง
8. วารีกุญชร
วารีกุญชรหรือช้างน้ำ หนึ่งในสัตว์ ณ ป่าหิมพานต์ มีรูปร่างลักษณะเป็นช้างที่เล็กกว่าช้างธรรมดามากอยู่ที่ประมาณ 3-4 นิ้วมีครีบและหางเหมือนปลา ถึงจะมีขนาดเล็กแต่มีฤทธิ์เป็นอย่างมาก ช้างตกมันยังต้องหลบ ส่วนมากจะอาศัยอยู่ในน้ำ สามารถดำน้ำว่ายน้ำได้เหมือนปลาทั่วไป มีอาวุธเป็นพิษที่อยู่ในงาที่มีความร้ายแรงเป็นอย่างมาก ปัจจุบันจะพบเห็นที่ฝาผนังของโบสถ์ที่ยู่ในวัด
ที่มาข้อมูล