ภาคเหนือมีสถานที่เที่ยวมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเที่ยวทางธรรมชาติ และสำหรับชาวพุทธเราต้องไม่พ้นแวะไปวัด วัดทางภาคเหนือมักจะอยู่ตามที่สูงเป็นดอยต่างๆ ส่วนมากจะมีบันไดทอดยาวให้เราเดินไปสักการะที่ข้างบน เหมือนกับวัดพระธาตุดอยสุเทพ คงต้องมีคนสังเกตกันที่บันไดจะไม่เหมือนวัดภาคกลางที่มักจะพบกับพญานาคแต่ที่ภาคเหนือจะเป็นลักษณะเป็นมกรคายนาค
มกร – คือตัวอะไร?
มกร (มะ-กะ-ระ หรือ มะ-กอน) เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ มกร มีชื่อเรียกอีกหนึ่งคือ เหรา (เห-รา) จะมีลักษณะลำตัวที่ยาวทรงเหมือนพญานาคมีเกล็ด แต่ต่างไปที่มกรจะมีขา ส่วนที่หัวปากจะมีฟันที่แหลมคมเหมือนจระเข้ หลายคนที่เคยเห็นมักจะเข้าใจผิดว่ามกรเป็นตัวเดียวกันกับตัวมอมสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์เช่นกัน
ตำนานความเชื่อ – มกรคายนาค
อีกตำนานกล่าวไว้ว่า มกร หรือ อาจเรียก เงือกงู มีความเชื่อว่าต้นกำเนิดมาจากคำว่า มังกร มกรคายนาค แต่บางตำราจะบอกว่า เงือกกลืนนาค แต่บางทีก็เรียกยว่าตัวสำรอก ในตำนานนี้จะบอกลักษณะไว้ว่ามันมีลำตัวเป็นงูใหญ่ เท้าสั้นมีถิ่นอาศัยอยู่ในสายน้ำ สาเหตุที่เรียกว่าตัวสำรองนั้นมาจากลักษณะการคายหรือสำรองวัตุอะไรสักอย่างออกมาจากปากนั้นเอง
ตัวมกรยังเป็นสัตว์ในนิยายอยู่มาเป็นพันปีแล้ว ในเทวตำนานของศาสนาฮินดูจะมีสัตว์ชื่อว่า มกรอาศัยอยู่ในท้องทะเลเป็นการผสมผสานจากสัตว์หลายชนิด คือส่วนหัวมักจะเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่บนบกและส่วนครึ่งล่างมักจะเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำ มกรมักจะถูกจัดสร้างให้อยู่ที่ทางเข้าของศาสนสถานของศาสนาฮินดู พวกมันยังเป็นพาหนะของพระแม่คงคา และยังเป็นพาหนะของพระวรุณเทพแห่งสายฝนท้องทะเล
ถ้าเรานำมกรมาเปรียบเทียบกับสัตว์ในป่าหิมพานต์ของประเทศไทยเรา จะมีลักษณะคล้ายกับตัวเหรา ซึ่งจะถูกจัดอยู่ในประเภทสัตว์จระเข้ เหตุที่ต้องเรียกเหราว่าเป็นชื่อมกรเพราะทางภาคเหนือประเทศไทยของเรามีขอบเขตติดกับพม่าจึงได้รับอิทธิพลจากฝั่งพม่ามากกว่านั้นเอง ถ้าเกิดได้กล่าวว่าเหราก็จะเป็นสัตว์ที่ผสมระหว่างจระเข้กับพญานาค ลำตัวยาวและส่วนหัวเหมือนพญานาคลำตัวกับปากเหมือนจระเข้
แต่บางตำราก็ได้บอกว่าเหราหรือมกร เป็นสัตว์ที่มีการผสมระหว่างมังกรของจีนกับพญานาค ทั้งนี้ขึ้นอยู่ทีมุมมองของแต่ละศาสนาวัฒนธรรม แต่ของไทยเรานี้ตามคติจักรวาลไตรภูมิพระร่วง เหราจะมีหน้าที่คอยเฝ้าสถานที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่เปรียบสเหมือนเขาพระสุเมรุ ฉะนั้นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์นี้ต้องมีสัตว์วิเศษในป่าหิมพานต์คอยรักษาอยู่ เพื่อไม่ให้มนุษย์มารบกวนเทพบนสวรรค์นั้นเอง
ตามความเชื่อในตำนาน ได้บอกไว้ว่ามกร เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ซึ่งเป็นสัตว์ดุร้ายมีแต่ความโกรธแค้นและมีความอาฆาตเป็นอย่างมากกับพญานาค ด้วยความอิจฉาพญานาค พวกมันอยากเอาชนะพญานาคที่ได้เป็นส่วนสำคัญในพระพุทธศาสนา พวกมันได้ประลองด้านพลังกำลังกับพญานาค ด้วยพญานาคไม่อยากทำการสู้รบกับมกร
เพราะกลัวสัตว์ประเภทอื่นที่อาศัยอยู่บริเวณนี้จะได้รับอันตรายไปด้วย พญานาคจึงเสนอวิธีกับมกรไปว่า ถ้าหากมกรสามารถกลืนพญานาคได้ทั้งตัวก็จะเป็นฝ่ายชนะไป มกรทำการกินพญานาคค่อยๆกลืนเข้าไปทั้งตัวแต่เหลือส่วนหัวที่ไม่สามารถกลืนได้เพราพญานาคได้ทำการแผลงเศียรออกมาจาก หนึ่งกลายเป็น สามเศียร เจ้ามกรตกใจและคิดว่ามันต้องอ้างปากให้กว้างขึ้นจะได้กลืนสามหัวของพญานาคได้
พญานาคเห็นเช่นนั้นจึงได้เพิ่มหัวจากสามเศียรเป็นเจ็ดเศียร คราวนี้มกรกลืนไม่เข้าคายไม่ออกสุดท้ายมกรก็ได้ยอมไม่สามารถกลืนพญานาคได้ทั้งตัวยอมคายพญานาคออกมา ความเชื่อมกรคายนาคเป็นปริศนาธรรม กุศโลบาย คือ ความดีมักจะเอาชนะความชั่วได้เสมอ โดยมกรมักถูกเป็นตัวแทนของความลุ่มหลง สื่อไปถึงความยึดติด สิ่งไม่ดีความชั่วมักจะกลืนกินตัวเรา
ส่วนพญานาคจะเป็นตัวแทนของความดี ความสงบสุขร่มเย็น ที่เห็นขณะมกรกำลังกลืนกินนาคเข้าไปทั้งตัวแล้ว พญานาคยังคงดูสงบ ยิ้มได้ พญานาคไม่ยอมแพ้และไม่ยอมให้ความชั่วกลืนกินได้ใครที่มาที่วัดเข้าก่อนเข้าโบสถ์ต้องละทิ้งความทุกข์ ความหลง ความยึดติด กิเลสที่อยู่ในตัวเอง ให้อยู่ที่ประตูโบสถ์เพื่อเข้ามารับสิ่งที่ดี ความสงบสุขร่มเย็นปล่อยวางความชั่วแล้วกลับบ้านด้วยจิตใจที่สงบร่มเย็นเตรียมพบเจอแต่สิ่งที่ดี ๆต่อไป
ถ้าเปรียบกับจิตใจมนุษย์ที่มักจะเกิดความเจ็บปวด ยึดติด ไม่สามารถไปไหนได้ ฉะนั้นถ้าเราอยากมีความสุขไม่เกิดความเจ็บปวดก็ต้องทำจิตใจให้สงบปล่อยวางจากสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ (ถึงจะหลุดจากปากมกรหรือเหราให้ได้) นี่แระคือกุศโลบายของคนโบราณที่พวกท่านได้ทิ้งไว้ให้ส่วนคนรุ่นหลังสืบมา ณ ปัจจุบันนี้ มกรคายนาคยังคงเป้นศิลปกรรมศาสนาพุทธ
มกร หรือ เหรา มกรคายนาคมักจะพบเจอหรือปรากฏให้เห็นที่วัดตามดอยหลายแห่งของทางภาคเหนือ ตัวอย่างเช่น วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ วัดบุพพาราม จังหวัดเชียงใหม่เช่นกัน วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปางและวัดศรีคิรินทราราม จังหวัดแพร่ นั้นเอง
ที่มาข้อมูล
Sanook.com