“พญาปุริสารท” ความเชื่อดังเดิมของคนทางภาคเหนือ ซึ่งในยุครุ่นปู่ย่าตายายของเราเขามีการนับถือพุทธและผี นั้นจึงมีการกราบไหว้สิ่งพวกนี้ที่อยู่นอกเหนือพระพุทธรูป ท่านเป็นหนี่งในผู้อารักขาพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพญาปุริสาทมีบทบาทในพระพุทธศาสนาคือเป็นอำมาตย์หนึ่งในบริวารของ ท้าวเวสสุวรรณราชาแห่งยักษ์ปกครองทางทิศเหนือในชั้นมหาตุราชิกา
ท่านเป็นที่เกรงกลัวต่อภูตผีปีศาจและคนธรรพ์ทั้งหลาย ท่านมีลักษณะเป็นนรสิงห์ ยักษ์กินผี เป็นเทวดาผู้มีฤทธิ์ เป็นบริวารเบื้องขวา 1 ใน 4 คู่บารมีท้าวเวสสุวรรณ ทางประเทศพม่าท่านอยู่ในความเชื่อคือ พญาปุริสารทเทพนรสิงห์ ซึ่งจะพบท่านทางเหนือของประเทศไทยหรือทางล้านนา อีกแบบหนึ่งจะมี “พญาปุริสารทกินผี” มีรูปลักษณะเป็นยักษ์ถือดาบสองเล่ม
สถานที่กราบไหว้ “พญาปุริสารท” ?
เนื่องด้วยคนไทยมีความเชื่อเรื่องถ้าชีวิตเราพบเจอกับสิ่งไม่ดี เจอภูตผีปีศาจคอยตามหลอกหลอน โดนทำคุณไสย์มนต์ดำ ดวงตกดวงไม่ดี ทำมาหากินไม่ขึ้น ที่ดินต้องอาถรรพ์ ให้บูชากราบไหว้ “พญาปุริสารท” มีเครื่องรางของคลังต่างๆ ผ้ายันต์ หรือรูปเคารพเอาไว้กราบไหว้บูชาของให้ท่านช่วย คุ้มครอง ผู้ทีได้กราบไหว้เคารพสักการะบูชาท่าน
สถานที่กราบไหว้ “พญาปุริสาท” องค์ท่านจะตั้งประดิษฐานอยู่
- ณ วัดจุฬามณี อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งสถานที่นั้นจะมีจุดไว้ท้าวเวสสุวรรณอยู่บริเวณใกล้เคียงอีกด้วย
- ศูนย์ปฏิบัติธรรมสุนทรปริยัติเมธี ตั้งอยู่ ณ ตำบลนาคาย อำเภอตาลสูม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งท่านจะเป็นที่กราบไหว้เพียงที่เดียวในทางภาคอีสาน องค์พญาปุริสาทบริวารท้าวเวสสุวรรณนี้จะรูปเหมือนท่านจะมีความสูงอยู่ที่ 4 เมตร ผู้จัดสร้างออกแบบท่านคือ คุณแดง พุทธศิลป์
- วัดผาลาดอยู่ ณ ที่ จังหวัดเชียงใหม่ รูปปั้นสเหมือนพญาปุริสาทนี้จะถูกแกะสลักมาจากหินอ่อนด้วยมือจากช่างที่เก่งสุดฝีมือจะดีที่สุด รูปท่านมีรายละเอียดสูงดูแล้วมีความคลังน่ากราบไหว้เป็นอย่างมาก มีรูปร่างเป็นสีขาว
- วัดพระธาตุดอยพระฌาน อยู่ ณ จังหวัดลำปาง ทรงท่านเป็นรูปปั้นลักษณะคล้ายครุฑร ร่างกายเป็นสีฟ้า ตัวใหญ่กำยำน่าเกรงขาม หน้าเป็นยักษ์ ลักษณะจะเหมือนจะนั่งยอง ๆจนต้องโชว์อวัยวะเพศ (เป็นข่าวดังทางโซเชียลว่าไม่เหมาะสม)
“พญาปุริสารท” เทพพิทักษ์ผู้ไล่อสูร
ท่านพญาปุริสาท ท่านเป็นยักษ์ ซึ่งยักษ์ในพระพุทธศาสนานั้นจะได้พบเจอทั้งปะติมากรรมและเป็นรูปภาพจิตกรรม ไม่ว่าจะเป็น ยักษ์กึ่งเทพ ยักษ์มีปีก ยักษ์แบก แล้วแต่ประวัติที่มาของสถานที่นั้นๆ แต่ถ้าจะมาพูดถึงยักษ์ พญาปุริสารท แล้วมักจะพบเจอน้อยมากในแถบภาคกลาง ส่วนใหญ่รูปปั้นท่านจะอยู่ทางภาคเหนือสะมากกว่า

พญาปุริสาท มักจะพบอยู่ทางภาคเหนือหรือตามล้านนา ไทยใหญ่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง มหาเจดีย์ทองคำชเวดากอง วัดที่สำคัญตามหัวเมือง ในเมื่องต่างๆที่ประเทศพม่า หรือที่มีความสัมพันธ์มีความเชื่อมโยงกับเหล่าชาวพม่าหรือชาวมอญในยุคสมัยแต่ก่อน ผุ้คนที่ว่ามาทั้งหมดนี้เขามักจะสร้างท่านเป็นรูปปูนปั้นร่างท่านเป็นเทวดาหรือเทพสิงห์กึ่งมนุษย์ เพื่อมาปคุ้มครองรักษาวัดนั้นเอง


ฤทธิ์เดช “พญาปุริสารท” มิใช่พญาครุฑ
เมื่อปีก่อนหน้านี้ ท้าวเวสสุวรรณ เริ่มเป็นที่นิยมในการกราบไหว้อย่างแพร่หลายขึ้นเรื่อยมา แต่ไม่มีใครที่จะพูดถึงบริวารของท่านที่ชื่อว่า พญาปุริสารทกันเลย มีอาจารย์ผู้หนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านสิงที่มองไม่เห็นท่านได้กล่าวไว้ว่า ผู้ใดที่เดือดร้อนจากภูตผีปีศาจแล้วบูชาท้าวเวสสุวรรณไม่เกิดผล ยังคงถูกภูตผีปีศาจคอยกดดันตามหลอกหลอนเอาชีวิตอยู่ ให้ท่านมากราบไหว้ “พญาปุริสารท”
ซึ่ง “พญาปุริสาท” ท่านเป็นสิงห์หน้าคน หรือเทพยักษ์กึ่งสิงห์ ท่านเปรียบสเหมือนบริวารเบื้องขวา หรือ เป็นเลขาของท้าวเวสสุวรรณเลยก็ว่าได้ ผู้ถือกุญแจเฝ้าสมบัติ ดูแลบัญชีของกุศลเดิมบุญเก่าของพวกเวไนยสัตว์ ท่านกินภูติ ผี ปีศาจ เป็นอาหารท่าน จึงทำให้การมีท่านไว้กราบไหว้บูชาจึงมีความปลอดภัยจากภูตผี ปีศาจ คุณไสย์มนต์ดำให้ออกไปได้
รูปปั้นของพญาปุริสาท เสนาแห่งยักษ์ เป็นมนุษย์กึ่งสิงห์ ซึ่งมีการคิดต่อยอดสันนิษฐานว่าความเชื่อของพวกเราจะเหมือนกับชาวอียิปต์เพราะ พญาปุริสาทดูแล้วเหมือนกับสฟิงซ์ ที่เขาสร้างไว้ปกป้องพิทักษ์พีระมิดให้พ้นจากภัยอันตราย ตามความเชื่อของพม่าคือ ท้านเป็นนรสิงห์ที่ความรักษาปกป้องพระพุทธศาสนา จะมีความแตกต่างจะสิงห์ที่เฝ้าวัด
มีแหล่งที่บันทึกเอาไว้ว่าเหล่าบรรดาพระอรหันต์ถ้าจะขับไล่ผีที่กินเด็กหรือภูตผีต่างๆโดยการแปลงร่างเป็น ปุริสารท แต่คนมอญจะเรียกท่านว่า “มนุสสีวะ” ที่ตัวเป็นสิงห์ส่วนหัวจะเป็นคนที่สวมชฎาดูสวยงามเป็นอย่างมาก ท่านมีฤทธิ์ขับไล่ผู้ผีปีศาจ ชาวมอญจะเลือกใช้ใบลานทำเป็นรูปสเหมือนท่านแขวนไว้ที่แปล เหมือนกับชาวไทยที่มีผ้ายันต์ ไว้ช่วยขับไล่สิ่งไม่ดีออกไป

คาถาบูชา “พญาปุริสาท”
(ตั้งนะโม ๓ จบ)
พุทธังอาราธนานัง ธัมมังอาราธนานัง สังฆังอาราธนานัง
พุทธังประสิทธิเม ธัมมังประสิทธิเม สังฆังประสิทธิเม
โอมตะถานุ เสวะกะนัง (๓-๗ จบ)
ที่มาข้อมูล