ตำนาน “พญานาค” ความเชื่อ ศรัทธาของสังคมไทย

หัวข้อในบทความผี

ตำนาน พญานาค

ในสังคมไทยความเชื่อเรื่อง “พญานาค” ซึ่งมีมาแต่โบราณกาลมักจะมาคู่กับพระพุทธศาสนา แต่ความจริงแล้วตำนานความเชื่อพญานาคนั้นมีมาก่อนพระพุทธศาสนาเสียอีก ซึ่งมีอยู่ในตำนานของพุทธประวัติ มีพญานาคอยู่ในหลายเหตุการณ์ตามที่ได้บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก และมีความเชื่อกันว่า พญานาคเป็นเทพกึ่งสัตว์เดรัจฉานคอยปกป้องพระพุทธศาสนาสืบมาจนถึงปัจจุบัน

ความเชื่อ “พญานาค” ของชาวพุทธ

พญานาค หรือ นาคราช จะมีความหมายว่า นาคผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือนาคผู้ที่เป็นใหญ่ สังเกตดูว่าจะคล้ายกับสัตว์ในตำนานของชาวจีนคือ พญามังกร ตามหลักศาสนาพุทธ จะมีนาคที่คอยให้พบเห็นในลักษณะของงูที่มีลำตัวขนาดใหญ่ เป็นสัตว์กึงเทพ มีฤทธิ์ สามารถเปลี่ยนร่างกลายเป็น มนุษย์ได้ มักจะอาศัยอยุ่ที่บาดาลใต้พิภพแต่ก็ไม่เสมอไป 

นาคบางตนอาจอยู่ที่แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร หรืออาจจะเป็นบนฝั่งอย่างเช่นในถ้ำก็อาศัยอยู่ได้เช่นกัน นาคจะมีผุ้ปกครองคือ ท้าววิรูปักษ์ หนึ่งในผู้รักษาทั้งสี่ทิศคือทิศตะวันตก ท่านที่คอยปกป้องรักษาเขาพระสุเมรุให้พ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง นาคที่คนไทยมักรู้จักดีอีกชื่อหนึ่งคือ พญามุจลินท์ มีตำนานที่มาคือ ในระหว่างที่พระพุทธเจ้าทรงเสวยวิมุตติสุข ได้บังเกิดฝนตกอย่างรุนแรง

พญามุจลินท์ได้มาเห็นทรงขดรอบที่พระพุทธเจ้าและได้แผ่พังพานคอยกันฝนที่ตกลงมาไม่หยุด พังพานนั้นจะอยู่ที่พระเศียรของพระพุทธเจ้า พอฝนหยุดพญามุจลินท์จึงได้คลายลำตัวออกจากพระพุทธเจ้าเลื่อนไปในป่าเพื่อแปลงกายเป็นมานพหนุ่มมาทำการถวายความเคารพที่หน้าพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าด้วยความนอบน้อมและศรัทธาแด่พระพุทธเจ้า

การกำเนิด – พญานาค

การกำเนิด – พญานาค

ความเชื่อเรื่องพญานาคของคนไทยที่มีความผูกพันเชื่อมโยงกับพระพุทธศาสนา ได้มีบันทึกในการกำเนิดของพญานาคตามศาสนาพุทธมี 4 ลักษณะ

  1. โอปปาติกะ – กำเนิดเกิดแล้วโตทันที
  2. ชลาพุชะ – กำเนิดออกมาจากครรภ์
  3. อัณฑชะ – กำเนิดจากฟองไข่
  4. สังเสทชะ – กำเนิดจากเหงื่อ ไคล สิ่งสกปรก หมักมม

ตามตำนานได้กล่าวไว้อีกว่าพญานาคจะมีการแบ่งออกไปอีก 4 ตระกูลคือ

1. ตระกูลวิรูปักษ์ 

 นาคในตระกูลนี้จะจัดอยุ่ในชนชั้นสูงที่สุดของเหล่าบรรดานาคทั้งหมด ผิวกายเป็นสีทอง นาคตระกูลวิรูปักษ์ถือกำเนิดเกิดในรูปแบบโอปปาติกะ เกิดขึ้นมาแล้วโตเป็นหนุ่มเป็นสาวทันที นาคในตระกูลนี้จะมีฤทธิ์มาก บารมีก็มากตามด้วยเช่นกัน จัดอยู่ในระดับเทพก็ว่าได้ นาคในตระกูลนี่จะเป็นชนชั้นปกครองเช่น ท้าววิรูปักษ์, พญามุจลินท์นาคราช เป็นตระกูลที่พญาครุฑห้ามจับนาคกินในตระกูลนี้อีกด้วย

2. ตระกูลเอราปถะ 

นาคที่เกิดในตระกูลนี้จะมีผิวกายเป็นสีเขียว เป็นพญานาคชนชั้นสูงเช่นกันแต่ไม่ถึงกับชั้นปกครอง กำเนิดได้ 2 แบบคือแบบ โอปปาติกะและแบบอัณฑชะ ลำตัวจะมีขนาดใกล้เคียงกับพญานาคตระกูลวิรูปักษ์ พญานาคในตระกูลนี้จะพบเห็นและอยุ่ใกล้กับมนุษย์มากที่สุด มีนิสัยชอบมาเที่ยวในโลกของมนุษย์ นาคในตระกูลนี้จะมีบารมีมากบำเพ็ญมากจนมีฤทธิ์ที่แข็งแกร่ง พญานาคที่เกิดในตระกูลนี้คือ พญาศรีสุทโธนาคราชเป็นต้น

3. ตระกูลฉัพพยาปุตตะ

นาคในตระกูลนี้จะมีผิวกายเป็นสีรุ้ง มีต้นกำเนิดเกิดรูปแบบชลาพุช เกิดจากครรภ์ มีฤทธิ์มากเช่นกันแต่จะพบเห็นได้ยากกว่าสองตระกูลที่กล่าวมาข้างต้น อาศัยอยู่ในป่าลึกลับ

4. ตระกูลกัณหาโคตะมะ 

นาคในตระกูลนี้จะมีผิวกายเป็นสีดำ กำเนิดเกิดรูปแบบอัณฑชะ และสังเสทชะ เกิดจากไข่และเกิดจากเหงื่อไคล ของหมักหมม  นาคที่อยู่ในตระกูลนี้มักจะเป็นนักรบมีร่างกายที่ใหญ่บึกบึน ได้รับมอบหน้าที่ให้คอยปกป้องเฝ้าสมบัติในบาดาลเป็นตระกูลที่ต่ำสุดในบรรดาทั้งสี่ตระกูลแต่ก็สามารถเป็นพญานาคในชนชั้นปกครองก็ได้เช่นกัน พญานาคในตระกูลนี้คือ พญานาคองค์ดำแสนสิริจันทรานาคราช ทรงเป็นกษัตริย์ยอดนักรบแห่งบาดาล

พญานาค กับ พระพุทธศาสนา

พญานาค กับ พระพุทธศาสนา

พญานาคในพระพุทธศาสนา ในสมัยพุทธกาลนั้น ได้กล่าวเอาไว้ว่า พญานาคตนหนึ่งมีอุปนิสัยที่ดุร้ายและมีพิษที่ฤทธิ์ร้ายแรงถึง 64 ชนิดของพิษร้าย พญานาคตนนี้ได้อาศัยอยู่ที่บาดาล ประสบพบโอกาสได้รับฟังพระธรรม์คำสั่งสอนเทศนาของพระพุทธเจ้าจนเกิดความศรัทธาเลื่อมใส จนต้องแปลงกายตนเองให้เป็นมานพหนุ่มมาทำการออกบวช 

เมื่อออกบวชก็ปฏิบัติตนตามหลักศาสนาพุทธอย่างเคร่งครัดด้วยความศรัทธาอันสูงสุดแต่แล้วในยามที่หลับใหลร่างกายจะเปลี่ยนกลับเป็นนาคจนภิกษุได้มาพบเห็นและนำเรื่องไปทูลพระพุทธเจ้า ด้วยข้อกำหนดในการบวชนั้น ไม่ให้สัตว์เดรัจฉานทำการบวช ผุ้ที่จะบวชได้ต้องเป็นมนุษย์เท่านั้น พระพุทธเจ้าจึงต้องให้พญานาคตนนั้นศึกลาออกจากการเป็นภิกษุณุ 

พญานาค

ด้วยแรงศรัทธาที่สุดของพญานาค ก็เสียใจน้อยเนื้อต่ำใจเป็นอย่างมากถึงตัวจะไม่สามารถบวชได้จึงขอพระพุทธเจ้าปวารณาตนขอเป็นพุทธมามกะ และขอพระพุทธเจ้าเอาไว้ว่า ถ้ามีการบวชพระเมื่อไหร่ก็ตาม ขอให้ก่อนการออกบวชของให้เรียกว่า “นาค” พระพุทธเจ้าก็ได้รับปาก จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกของ นาค ชื่อก่อนที่จะออกบวชเป็นพระภิกษุนั้นเอง

นอกจากจะมีพญานาคปรากฏตัวอยู่ในตำนานแล้ว นาคก็ยังปรากฏอยู่ในสัญลักษณ์ต่างๆอีกเช่น นาคเห็นอยู่ตามบันไดในวัด นาคที่จำลองในสถานที่สำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะพบเห็นพญานาคอยู่ที่ใด สิ่งที่สำคัญเลยคือพญานาคก็จะอยู่คู่กับชนชาวไทยต่อไปด้วยแรงศรัทธาที่ยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ

ที่มาข้อมูล

wikipedia.org

เรื่องเล่าผีล่าสุด
Tag ผี
Annabelle (1) ข่าวผี (11) คำสาปบนดอยสูง (1) คืนพุธมุดผ้าห่ม (1) ตำนาน (122) ตำนานสยองขวัญทั่วโลก (1) ตำนานสยองทั่วโลก (2) ตึกร้างสยอง (1) ตุ๊กตาผี (1) น้ำตกไพรสวรรค์ (1) บูกี้แมน (1) บ้านร้างในประเทศไทย (1) ปราสาทผีสิง (1) ป่าผีเฮี้ยนของประเทศอังกฤษ (1) ผีกระสือ (1) ผีกระหัง (1) ผีญี่ปุ่น (2) ผีต่างประเทศ (61) ผีที่คนเจอบ่อยที่สุด (1) ผีอาเซียน (1) ผีฮานา (1) ภาพติดวิญญาณ (3) ภาพถ่ายติดวิญญาณ (3) มหาลัยสยองขวัญ (4) วิญญาณเฮี้ยนในจังหวัดตาก (1) วิธีการเห็นผี (1) ศุกร์ที่ 13 (1) สถานที่หลอน (48) สยองขวัญจากพันทิป (1) สไตล์การปรากฏตัวของผี (1) หนังผีไทย (1) ฮาจิซาคุ (1) เก้าอี้ผีสิง (1) เทเค เทเค (Take Take) (1) เรื่องผี (15) เรื่องเล่าผี (230) แฟรงเกนสไตน์ (1) โรงเรียนผี สุดหลอนของไทย (1) โรงเรียนหลอน (3) โรงแรมหลอน (2)