สายมูเตลูโดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า เชื่อว่าไม่มีใครไม่รู้จักแม่นางกวัก เรามักจะพบเห็นนางกวักอยู่ในรูปแบบเครื่องรางของขลังมักจะอยู่ตามร้านค้าที่เห็นเหมือนจะอยู่แทบทุกร้านเลย แม่นางกวักอยู่บนความนิยมของคนไทย แม่นางกวัก เด่นเรื่องโชคลาภและค้าขายดี รูปลักษณ์ของนางกวักก็มีตอยู่หลายรูปแบบตามสมัยนิยม เรามาเจาะลึกไปกับประวัติของท่านกันว่าเป็นใครท่านมาจากไหนทำไมถึงมีคนนิยมบูชามาก
ความเป็นมา : “นางกวัก” เทวีแห่งโชคลาภ
ประวัติความเป็นมาของ “นางกวัก” มีอยู่หลากหลายมีเรื่องราวของนางกวักมาตั้งแต่ยุคสมัยพุทธกาลเวลา 2,500 กว่าปี นางกวักเคยเกิดมาเป็นสตรีมีนามสว่า สุภาวดี เป็นลูกของนางสุมณฑากับสุจิตพราหมณ์ พ่อแม่ลูกครอบครัวนี้เลี้ยงชีพด้วยการค้าขายซึ่งได้เงินมาก็เพียงพอต่อการอยู่ได้ไม่เดือดร้อนไม่ถึงกับรวย ครอบครัวนี้อยู่ในเมืองมัจฉิกาสัณฑ์ ณ ประเทศอินเดีย
ณ วันหนึ่ง นางสุภาวดีและบิดาสุจิตพราหมณ์ ออกจากบ้านนำสินค้าขึ้นบนเกวียณออกไปค้าขายเช่นเดิม แต่ นางมีบุญเป็นอย่างยิ่งเพราะได้เจอพระอรหันต์องค์หนึ่งคือ พระกัสสปะเถระ ซึ่งท่านได้แสดงธรรมเทศนา นางสุภาวดี ตั้งใจในการฟังธรรมอย่างมุ่งมั่นแบละตั้งใจเป็นอย่างมาก และนางก็เข้าใจเป็นอย่างดี หลังจากฟังเทศนาเสร็จ พระกัสสปะเถระ ท่านได้ให้พรกับนางสุภาวดีว่า “ให้เจริญรุ่งเรืองแก่การค้าขาย
ในกาลต่อมา นางสุภาวดีก็ได้ติดตามผู้เป็นบิดายังอีกเมืองหนึ่ง นางสุภาวดีก็ยังมีบุญเป็นอย่างยิ่งอีกเช่นเคยเพราะนางได้มาพบกับพระสีวลีเถระเจ้า ซึ่งท่านเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าและได้รับการยกย่องด้านเป็นเลิศในลาภและเครื่องสักการะ (ท่านผู้อยู่ในครรภ์มารดา 7ปี 7เดือน ท่านผุ้เป็นเลิศด้านบารมี วาสนาและโชคลาภ ท่านจึงได้พบแต่สิ่งดีๆอยู่เสมอ) พระสีวดีเถระเจ้าได้แสดงธรรมให้นางสุภาวดีได้ฟัง
นางมีความตั้งใจฟังธรรมและเข้าใจถึงธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระสีวลีท่านได้ให้พรกับนางว่า “ให้นางและครอบครัวจงมีทรัพย์สินที่มาจากการค้าขาย” ในเวลาต่อมาพระอันประเสริฐของพระสาวกทั้งสองพระองค์เป็นจริงในกาลต่อมา ไม่ว่าครอบครัวของนางสุภาวดีไปค้าขายสถานที่ใด ครอบครัวของนางสุภาวดีมักจะค้าขายได้ดีและมีกำไรมาตลอด ครอบครัวนตางมีแต่ควาเจริญรุ่งเรืองประสบความสำเร็จ
จนมีเงินทองมากมายกลายมาเป็นมหาเศรษฐี บิดาของนางมีความเชื่อว่าลูกสาวของเขานำความเจริญมาให้ เขาจึงมีความตั้งใจในการฟังธรรมของพระพุทธเจ้าและมีความศรัทธาปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างตั้งใจ เวลาเดินไปหลายปีนางสุภาวดีเสียชีวิตลง เหล่าชาวบ้านอาลัยแก่การจากไปของนางสุภาวดี พวกเขาจึงปั้นรูปเหมือนนางสุภาวดีขึ้นมาลักษณะกวักมือข้างหนึ่งขึ้นมาเป็นกริยาบทในการเรื่องทรัพย์
นางอยู่ในการนั่งพับเพียบ แต่งกายพร้อมเครื่องประดับสวยงาม เหตุการณ์นี้จึงเป็นตำนานเล่าขานกันต่อมา จนกลายเป็นความเชื่อเรื่องการสร้างรูปปั้นนางสุภาวดีนำไปตั้งหน้าร้านค้าเพื่อกวักเงินทองทำให้ค้าขายรุ่งเรืองด้วยลักษณะของรูปปั้นที่กวักมือข้างหนึ่งจึงเรียกว่า “นางกวัก” ยุคต่อมามีผู้มีพลังจิตทรงพลังสร้างรูปปั้นนนางกวักและทำการปลุกเสกอฐิษฐานจิตทำให้รูปปั้นนางกวักมีความอนุภาพมากในการเรียกทรัพย์สินเงินทอง
และมีฤทธิ์ในการทำให้ผุ้บูชาค้าขายดีประสบความสำเร็จ ด้วยเหตุนี้ทำให้ นางกวักจึงเป็นที่นิยมตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบันนี้ ยังมีตำนานจากเรื่องพื้นบ้านเก่าแก่ของจังหวัดลพบุรีเป็นเรื่องในรามเกียรติ์ว่า มีพญายักษ์เกเรตนหนึ่งมีชื่อว่าท้าวกกขนาก มีสหายเป็นปู่เจ้าเขาเขียวด้วย ยักษ์ตนนี้มักจะจับคนกินเป็นอาหารอยู่เป็นประจำทำให้พระรามต้องมาปราบยิงศรจนท้าวกกขนากตกลงจากกรุงลงกามาเขาวงพระจันทร์ ลพบุรี ณ ปัจจุบัน
พระรามสาปเอาไว้ว่าศรนี้จะหลุดต่อเมื่อนางนงประจันทร์บุตรสาวท้าวกกขนากทอผ้าไตรจีวรทำมาจากใยบัวนำไปถวายพระศรีอาริยะเมตรัย นางต้องการที่จะช่วยบิดาของตนเองต้องลำบากในการดูแลบิดาและหาเลี้ยงชีพตน ทำให้ปู่เจ้าเขาเขียวสงสารส่งเทพธิดาบุตรสาวมาอยู่เป็นเพื่อน ทำให้นางนงประจันทร์มีความเป็นอยู่ดีขึ้น เป็นที่รักใคร่จากชาวบ้านผู้ได้พบเห็น
นางเชื่อว่านางมีชีวิตที่สมบูรณ์และดีขึ้นเพราะเทพธิดาองค์นี้ นางนงประจันทร์จึงตั้งชื่อให้ว่า “นางกวัก” และมีตำนานอีกที่หนึ่งปรากฏขึ้นในประวัติเขาเขียว อำเภอโพธิ์ธาราม จังหวัดราชบุรีคือ กษัตริย์เมืองมีนนามว่าปู่เจ้าเขาเขียวมี่บุตรธิดาชื่อนางกวักสิริณภา นางงดงามและเป็นที่รักใคร่แก่ผุ้พบเห็น แต่นางสิ้นเพียงแค่ 15 พรรษาจากอุบัติเหตุ นางเป็นสัญลักษณ์แห่งเมตตามหานิยมคือที่มาของลักษณะแม่นางกวักในปัจจุบันนั้นเอง
บทสรุป
“นางกวัก” เทพีอันศักดิ์สิทธิ์ มีการสร้างในลักษณะสตรีผู้มีความงามนุ่งผ้าไทย นั่งพับเพียง กวักมือข้างหนึ่ง ถ้ามือของนางอยู่ระดับปากมีความหมายว่ากินไม่หมด จึงไม่แปลกที่จะเห็นแม่นางกวักอยู่หน้าร้านค้าต่างๆ เพราะมีความเชื่อว่านางกวักจะช่วยในการค้าขาย กวักเงินกวักทองเขาร้านค้า เหตุนี้จึงไม่แปลกเลยที่หลายคนบูชาพระแม่ผู้มีแต่ความเมตตาคือ “แม่นางกวัก” องค์นี้เอง
ที่มาข้อมูล