สัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์นั้นมีหลากหลายชนิด กินนร และกินรีก็เป็นสัตว์เทพที่อยู่ในป่าหิมพานต์ ณ เขาไกรลาส ตามบันทึกของพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงกินนรและกินรีเอาไว้ว่า ลักษณะภายนอกกินนร กินนรีนั้นมีร่างกายเป็นมนุษย์ยาวไปถึงสะดือ ส่วนท่อนล่างจะเป็นนก มีปีกเหมือนดังเช่นเดียวกับนก กินนร จะเป็นเพศผู้ กินรีจะเป็นเพศเมีย และยังปรากฏอยู่ในวรรณกรรมอยู่หลายเรื่องด้วยกัน
ตัวอย่างเช่น เรื่องพระอภัยมณี ก็ยังได้มีบทเกริ่น ที่พระบิดาของพระอภัยมณี เจ้าแห่งกรุงรัตนา กล่าวบรรยายนางสนมของตนเองให้กับท้าวสุทัศน์รับฟังว่า “สนมนางแสนสุรางคนิกรดังกินนรกน่ารักลักขณา” เป็นการเปรียบนางสนมของท่านที่มีความงดงามดั่งกับกินรีนั้นเอง และยังมีชื่อนี้ขึ้นในชาดกเรื่อง พระสุธน- มโนราห์อีกด้วย คือในชาดกได้กล่าวถึงเรื่องราวความรักระหว่างมนุษย์กับกินรี บอกถึงความพลัดพรากความรัก
การกำเนิด : กินนร กินรี
มีตำนานเล่าขานไว้ต่างกัน ตามคติของศาสนาฮินดู เกิดมาจากหัวแม่เท้าของพระพรหมพร้อมกับพวกยักษ์ จึงเป็นบริวารของพระกุเวรที่อยู่เชิงเขา แต่ที่เทวประวัติ คือ พระพุทธเจ้าได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า ท้าวอิลราชได้เสด็จลงมาประพาสป่าได้เดินพลัดหลงทางเข้าไปในเขตหวงห้ามของพระศิวะกับพระแม่อุมา ขณะเดียวกันพระอิศวรกำลังแปลงเป็นหญิงหยอกล้อกับพระแม่อุมา ใครก็ตามที่เข้ามาในเขตนี้จึงต้องกลายเป็นหญิงทั้งหมด
สุดท้ายท้าวอิลราชท่านถูกสาปจากพระอิศวรให้กลายเป็นนางอิลา ต่อมาบริวารกับนางอิลาได้มาเล่นน้ำซึ่งอยู่ใกล้กับที่อยู่ของพระพุธ ขณะนั้นพระพุธเป็นฤๅษี(พราหมณ์สามารถมีภรรยาได้) อยู่เกิดเห็นนางอิลาแล้วชอบ พระพุธบอกว่าบริวารเหล่านั้นไว้ว่า เจ้าทั้งหลายจงเป็นกินรีหากินอยู่ในป่านี้เถิด และได้บอกว่าจะหาอาหารให้นางกิน จะหากินบุรุษให้ บทสรุปคือ กินรีเกิดมาจากการเสกของพระพุธ
ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงได้กล่าวถึงกินนรเอาไว้ว่า กินนรกับคนธรรพ์มีรูปร่างคล้ายกันเพราะทั้งสองเป็นพี่น้องกัน ซึ่งอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ ซึ่งลักษณะคือเป็นครึ่งคนครึ่งนก ท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก ในภัลลาติชาดกได้กล่าวถึงกินนรไว้ว่าจะมีกินนรจะมีอายุถึง 1000 ปี ธรรมดาแล้วกินนรต้องกลัวน้ำ ซึ่งต่างไปจากกินนรในในเรืองพระสุธน-มโนราห์ กินนรชอบเล่นน้ำ
ในนิทานชาดกได้กล่าวถึงกินนรเอาไว้ว่า มีกษัตริย์แห่งพาราณสี ชื่อ พระเจ้าพรหมทัต พระองค์ได้เสด็จไปล่าสัตว์ที่ป่าลึกเดินเข้าไปไกลจนถึงต้นน้ำ ขณะนั้นน้ำลดเพราะเป็นฤดแล้ง ทางกินนรกินรีได้หาที่เล่นน้ำ ลงมาจากเขาจันทบรรพต จันทรกินนรได้ชวนจันทรกินรีไปเก็บดอกไม้ที่ลำธาร จันทรกินนรก็ได้ขับร้องเพลงพร้อมเล่นขลุ่ย ส่วนนางจันทรกินรีก็ได้ร่ายรำไปพร้อมกัน
ทางพระเจ้าพรหมทัตได้มาเห็นเข้าเกิดมีใจจันทรกินรีจึงสังหารยิงลูกศรใส่จันทรกินนรจนมีเลือดออกล้มลง พระองค์เข้าใจว่าจันทรกินนรได้ตายแล้ว พระเจ้าพรหมทัตจึงได้ออกมาจากที่ซ่อนให้นางกินรีเห็น และได้ชักชวนให้นางจันทรกินรีตามพระองค์ไปเป็นอัครมเหสีที่พระราชวังกับพระองค์ ด้วยความรักที่นางจันทรกินรีที่มีต่อสามี นางจึงไม่ยอมไปปฏิเสธพระองค์ นางยอมที่จะตายสะยังดีกว่า พระเจ้าพรหมทัตจึงไปเสด็จกลับไป
นางจันทรกินรีร้องไห้ต่อชะตากรรมของนาง เรื่องมาถึงอาสน์ของพระอินทร์ ท่านจึงได้แปลงกายเป็นพราหมณ์ลงมาช่วยนำน้ำใส่ไปในหม้อเพื่อจะมารดลงบนแผลที่เกิดจากลูกศรของพระเจ้าพรหมทัต จากนั้นจันทรกินนรก้ได้ฟื้นคืนตื่นขึ้นมา บาดแผลที่มีอยู่ก็หายสนิทจากนั้นพระอินทร์ได้แปลงกายกลับกล่าวกับกินนรและกินรีว่าอย่าลงมาในเขตของมนุษย์นี้อีก ให้อยู่แต่บนเขาที่เจ้าอยู่เถิด เป็นการกล่าวตักเตือนทั้งสองนั้นเอง
ประเภทของกินนร-กินรี
ตามกัลป์ลาติชาดก ได้ทำการแบ่งประเภทของกินนรและกินรีเอาไว้ 7 ประเภท คือ
- เทวกินนร : กินนรที่เป็นเทพเทวด คือ ครึ่งนกครึ่งเทวดา (คนไทยรู้จักประเภทนี้)
- จันทกินนรา : กินนรที่มาจากนิทานชาดกคือเรื่องจันทกินรีลักษณะรูปร่างเป็นคนแต่จะมีปีกอยู่ด้านหลัง
- ทุมกินนรา : กินนรที่มักจะอาศัยอยู่ตามสุมพุมไม้
- ทัณฑมาณกินนรา : กินนรที่มีลักษณะคล้ายนกทัณฑิมา ลักษณะเป้นนกที่ปากจะยาวเหมือนไม้เท้าที่อยู่บนใบบัว
- โกนตกินนรา : ยังไม่ปรากฏลักษณะให้เห็น
- สกุณกินนรา : กินนรที่ยังคงมีท่านด้านบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก
- กัณณปาวรุณกินนรา : ลักษณะคล้ายกับนกคัณฑเภรุณท์ ซึ่งมีลักษณะมี 2 เศียรให้ได้พบเห็น ซึ่งร่างนี้เป็นอวตารของพระนารายณ์
ส่วนกินนรและกินรีตามเรื่อง พระสุธน-มโนราห์ นั้นนางกินรีไม่มีอวัยวะเป็นปีกแต่อย่างใด ปีกของกินรีเปรียบได้เหมือนกับอุปกรณ์เสริมหรืออาจแปรียบเหมือนกับเสื้อผ้าที่ประดับถอดหรือใส่ได้แล้วแต่ประสงค์จะใช้งาน ในเรื่องนางได้ถอดปีกเพื่อลงเล่นน้ำ จนพรานบุญได้แอบมาขดมยเอาไปแอบไว้ จึงเป็นเหตุการณ์ต้นเรื่องที่จะเกิดความพิสดารต่อมาในภายหลังมากมายนั้นเอง
ที่มาข้อมูล