ในสังคมไทยใครที่มีบ้านเรือนเป็นของตัวเองจะมีความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมารุ่นสู่รุ่นคือการตั้งศาลพระภูมิ ซึ่งจะเป็นพิธีที่มีความสำคัญต่อการอาศัยในบ้านเป็นความเชื่อว่าถ้าเราตั้งศาลแล้วจะทำให้เราอยู่ภายในบ้านแบบร่มเย็นเป็นสุขและมีความปลอดภัยสเหมือนเรามีผู้ใหญ่คอยคุ้มครองอยู่ วิธีการจัดตั้งมีความสำคัญเป็นอย่างมากถ้าตั้งผิดอาจส่งผลร้ายถ้าตั้งดีก็ทำให้เกิดมีโชคลาภกันเลยทีเดียว
ความเชื่อ : “ศาลพระภูมิ” ของคนไทย
คนไทยจะมีความเชื่อว่าแต่ละภูมิภาคแต่ละพื้นที่เราได้อาศัยอยู่นี้จะมีเทวดาหรือเทพที่คอยปกปักรักษาอยู่สเหมือนเป็นเจ้าของที่เลยก็ว่าได้ ถ้าเราจะทำการอาศัยอยู่ต้องขออนุญาต เหมือนกับว่าเป็นการเข้าไปหาผู้ใหญ่ต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตนไปลามาไหว้จะทำให้เทวดารักและเอ็นดูเรา แต่ในบางคนอาจเชื่อว่าศาลพระภูมิเป็นผีนั้นไม่ใช่ พระภูมิเป็นเทวดาที่คอยป้องกันรักษาขับไล่สิ่งไม่ดีออกไป
“ศาลพระภูมิ” หรือมีอีกชื่อคือ ศาลพระภูมิชัยมงคลจะมีความหมายตรงตัวว่า เจ้าที่ ถ้าเป็นความเชื่อของคนจีนคือ “ตี่จู้เอียะ” แปลว่าผู้ที่ดูแลแผ่นดินซึ่งมีหน้าที่คอยปกป้องดูแลสถานที่หรือบ้านเรือน ถึงนี้จะรวมไปถึงสวน ไร่ นา ความเชื่อทางศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์นั้นในตามตำนานมีที่มาจุดกำเนิดคือท้าวทศราชกษัตริย์ผู้ปกครองนครกรุงพาลี มีพระนางสันทรทุกเทวีเป็นพระมเหสี
มีโอรสทั้งหมด 9 พระองค์ ในกาลต่อมาท้าวทศราชได้เอาเปรียบเบียดเบียนเหล่ามนุษย์จนเรื่องรู้ถึงพระศิวะจึงมอบให้พระนารายณ์ไปจัดการโดยการไปเกิดใหม่อวตารร่างใหม่บนโลกมนุษย์ปราบและทำการขับไล่ท้าวทศราชให้ไปอยู่ที่ป่าหิมพานทำให้ประชาชนได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ท้าวทศราชกับพระมเหสีพร้อมกับโอรสทั้ง 9 พระองค์ต้องมีการเป็นอยู่อย่างลำบาก ท่านได้สำนึกผิดกับการกระทำของท่านที่ทำไม่ดีกับมนุษย์
ท้าวทศราชจึงได้มีการปวารณาตั้งตนให้อยู่ในศีลในธรรมและขอพระนารายณ์มาอยู่ในเมืองที่ตนเคยได้อาศัยอยู่ แต่พระนารายณ์ไม่ให้ตามที่ขอแต่จะให้เพียงแค่การประทับอยู่บนศาลที่มีเสาเพียง 1 เสาเท่านั้นที่จะปักอยู่บนพื้นแผ่นดินที่ท้าวทศราชเคยอยู่แทน ท้าวทศราชมอบหน้าที่ให้พระโอรสทั้ง 9 พระองค์ไปดูแลถิ่นฐานแตกต่างกันไปซึ่งจะประกอบไปด้วย
- พระชัยมงคล : มีหน้าที่คอยดูแลรักษาบ้านเรือน
- พระนครราช : มีหน้าที่คอยรักษาประตูเมือง รวมไปถึงป้อมและค่าย
- พระเทเพน : มีหน้าที่คอยดูแลสถานที่เลี้ยงสัตว์ เช่น คอกสัตว์ โรงช้างม้าวัวควาย
- พระชัยศพณ์ : มีหน้าที่คอยดูแลสถานที่เก็บเสบียงเช่น ยุ้งข้าว
- พระคนธรรพ์ : มีหน้าที่คอยดูแลเรือนหอของบ่าวสาว
- พระธรรมโหรา : มีหน้าที่ดูแลสถานที่ทำมาหากิน ไร่ นา ป่าเขา
- พระเทวเถร : มีหน้าที่ดูแลพุทธสถาน เช่น วัด วิหาร
- พระธรรมิกราช : มีหน้าที่ดูแลอุทยาน สวนผลไม้
- พระทาสธารา : มีหน้าที่ดูแลแม่น้ำลำคลอง ห้วย หนอง บึง
การตั้งศาลพระภูมิ
ขั้นตอนแรกในการจัดตั้งศาลพระภูมินั้นต้องมีผู้รู้คอยแนะนำ ในสังคมไทยก็อาจจะไปพบกับพระสงฆ์ พระเกจิ อาจจะเป็นซินแส หรือ พราหมณ์ ผู้ที่มีความรู้ในศาสตร์ทางสายวิชาตั้งศาลให้จัดได้อย่างถูกต้องเพราะถ้าจัดตั้งศาลโดยไม่มีความรู้นั้นเปอร์เซ็นสูงมากที่จะทำผิดตั้งในที่ไม่สมควร ส่วนมากการตั้งศาลพระภูมิจะอยู่ที่บริเวณหน้าบ้าน ทิศเหนือหรือทิศใต้ก็ได้ ห้ามตั้งใกล้ห้องน้ำห้องครัว ต้องคอยรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
ในการตั้งศาลพระภูมินั้นสิ่งที่ต้องระวังคือสถานที่ตั้งห้ามให้เงาของตัวบ้านมาบังศาลพระภูมิและการตั้งห้ามหันไปในทิศทางของประตูเข้าของบ้าน ข้อสังเกตถ้าผู้อาศัยอยู่ที่บริเวณมีตึกสูงส่วนใหญ่การตั้งศาลพระภูมินั้นจะอยู่ที่บริเวณดาดฟ้าจะได้มีมีเงาตึกมาคอยบัง การตั้งศาลพระภูมินั้นมีความนิยมอยู่ในรูปทรงบ้านเรือนไทยที่มีไซด์ขนาดเล็กตั้งอยู่บนเสาเพียง 1 ต้นในบริเวณกลางแจ้ง
ในสมัยก่อนนั้นการตั้งศาลพระภูมิจะมีระดับสายตาเป็นที่มาของชื่อศาลเพียงตา แต่ในยุคปัจจุบันการจัดตั้งศาลพระภูมินั้นต้องอยู่เหนือศีรษะ วันที่จะมาทำการตั้งศาลควรที่จะเป็นฤกษ์ “ภูมิปาโลฤกษ์” ห้ามเป็นวันกาลกิณีของตัวเองห้ามเป็นวันโลกาวินาศ ซึ่ง ภูมิปาโลฤกษ์ จะมีความหมายว่า ผู้รักษาปกป้องพื้นแผ่นดินซึ่งมีดาวฤกษ์เป็นดาวจันทร์พร้อมบาทฤกษ์ทั้ง 4 จะอยู่ในราศีเดียวกันคือิ “บูรณะฤกษ์” จะมีความเป็นมงคลมาก
การมีศาลพระภูมิอยู่ในบริเวณบ้านนั้นต้องมีการกราบไหว้ที่ถูกต้องเพื่อเป็นการแสดงความนับถือและให้ความเคารพต่อพระภูมิเจ้าที่ อาจควรทำอย่างสม่ำเสมอหรือเดือนละครั้งก็ยังดีจะทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยได้รับแต่สิ่งดีๆรวมไปถึงอาจได้โชคลาภมาเป็นสิ่งที่ดีต่อการดำรงชีวิตของตนเองเลยก็ว่าได้เช่นกัน
ที่มาข้อมูล